วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลา



ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :     Notopterus notopterus
ลักษณะทั่วไป : เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างคล้ายปลา กรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีจุดสีดำที่ครีบก้น ลำตัวมีสีขาวปนเทา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียว โดยทั่วไปมีขนาดความยาว 15 - 20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดเท่าเคยพบมีความยาวถึง 30 เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย, อาหาร :       พบในแม่น้ำคลองทั่วไปของทุกภาคของไทย อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้ง
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :         ขี้อาย ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ และหลบพักตามตอไม้หรือซอกหิน ไม่ชอบแสงสว่างมาก ออกหากินในเวลากลางคืน โดยชอบผุดขึ้นมาฮุบอากาศทำเสียงที่ผิวน้ำและม้วนตัวกลับให้เห็นด้านข้างขาว คล้ายสีเงิน
สถานภาพปัจจุบัน :      
สถานที่ชม :      สวนสัตว์เชียงใหม่
ข้อมูลเพิ่มเติม :  UNEP-WCMC Species Database

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลากา(ปลาเพี้ย)

ปลากา(ปลาเพี้ย)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :            Morulius chrysophekadion
ลักษณะทั่วไป :          เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง ลำตัวเรียวยาวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีม่วงดำหรือน้ำเงินดำ เกล็ดมีขนาดใหญ่คลุมตลอดลำตัวยกเว้นส่วนหัว หัวเรียวแหลม ปากยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูงมาก ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้น เรียวยาวและมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก ครีบทุกครีบมีสีดำ ตัวใหญ่สุดอาจยาวถึง 48 เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย, อาหาร :    พบในประเทศไทย ตามแหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้นๆ และมีพันธุ์ไม้น้ำ กินตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืชและตัวอ่อนแมลงน้ำ
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :    -
สถานภาพปัจจุบัน :  -
สถานที่ชม :   สวนสัตว์เชียงใหม่

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตีเบ็ดปากน้ำสามร้อยยอดทั้งบ่าย


ตีเบ็ดปากน้ำสามร้อยยอดทั้งบ่าย แห้วสนิท
เอาปลากระบอกเกี่ยวทีเดียว ติดภายในสองนาที 555
รู้งี้ตกแบบนี้นานแระ เผ่นแระสู้ยุงไม่ไหว

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หมายตกปลาเด็ดที่


หมายตกปลาเด็ดที่ ตำบลท่ากระดาน  อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
การเดินทาง  ในการเดินทางให้ยึดถือเส้นทางมาให้ถึงตัวเมืองกาญจนบุรีก่อน แล้วใช้เส้นทางไป เขื่อนศรีนครินทร์ เมื่อถึงเขื่อนศรีฯแล้วไม่ต้องเลี้ยวเข้าไปในเขื่อน ให้ขับรถตรงขึ้นไป วิ่งขึ้นไปบนเขาตับเต่า ตรงไปเรื่อย ๆ สัก 10 กว่ากิโลเมตร ก็จะมีป้ายบอกทางลงไปแพหลายแพดูป้ายท่ากระดานเป็นหลัก เมื่อมาถึงแล้วก็เลือกทำเลตกปลาได้เลย แต่ถ้าจะตกปลาจริง ๆ แล้วบริเวณที่จอดแพมีปลามากกว่าข้างนอก
ชนิดของปลา ที่นี่มีปลามากมายหลายชนิดใหญ่ ๆ ทั้งนั้น ตั้งแต่ยี่สกไทย ยี่สกเทศ กดคัง กดเหลือง กระสูบ เค้า ชะโด และก็มีอีกหลายชนิดให้เลือกตกกัน
เหยื่อที่จะใช้  เหยื่อหมัก สูตรคุณแอ๋วอย่าลืมซื้อติดมือเอาไปด้วยเหยื่อสูตรทั้งหลายก็มีสำหรับตกปลายี่สก ไส้เดือน ลูกกุ้งกับปลาหมอตระกรับ
หมายเหตุ  แพที่พักที่นี่มีหลายแพ ให้เลือกแพที่มีการบริการในเรื่องตกปลา เพราะบางแพจะหวงปลา ไม่ค่อยบอกว่าปลาอยู่บริเวณไหน อย่าไปพักเด็ดขาดเสียเวลาเสียดายเงิน

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันนี้ผมนำเหยื่อปลั๊ก

วันนี้ผมนำเหยื่อปลั๊กมาแนะนำให้รู้จักกันหลายคนอาจไม่รู้จัก
ว่าเหยื่อปลั๊กคืออะไรและจัดอยู่ในประเภทอะไร
ผมขอบอกเลครับว่าเหยื่อปลั๊กเป็นเหยื่อที่นักตกปลาหลายคน
เลือกใช้...เหยื่อปลั๊กเป็นเหยื่อประเภทดำตื้น
ใช้สำหรับตกปลานักล่าที่หากินในนำ้ที่ไม่ลึกมาก
เช่นปลาช่อน ปลาชะโด ปลากระสูบ ปลากระพง

ขอบอกเลยว่าเซียนตกปลาหลายคนนิยมใช้

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เหยื่อสปูน

หลายคนอาจไม่รู้จักกันว่านี้มันคืออะไร...และมันใช้งานยังไง
ขอตอบเลยครับว่านี้คือเหยื่อปลอมที่มีชื่อเรียกว่าสปูน
เป็นเหยื่อประเภทน้ำลึก..ใช้สำหรับตกปลานักล่าที่อาศัยอยู่ในน้ำ
ลึก เช่น ปลากระพง  ปลากระสูบ  และปลาล่าเหยื่อชนิดต่างๆ
เหยื่อสปูนก็มีด้วยกันหลายแบบ

  เหยื่อสปูน  ทำจากโลหะมันวาวหมุนควงมีตัวเบ็ดที่ด้านท้ายสปูนใช้ได้ผลชะงักกับปลาช่อน บ่อดิน หรืออ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำไม่ลึกมากนักและกระสูบฝูงตามเขื่อน มีวิธีเลือกใช้สปูนตามชนิดของน้ำ เช่น น้ำขุ่นและน้ำลึกไม่เกิน 2 เมตร ใช้สปูนสีนาก (ทองแดง) จะได้ผลเร็วมากโดยการเหวี่ยงเหยื่อใกล้ๆกับแหล่งที่คาดว่าปลาจะอาศัยอยู่ เช่น ริมกอหญ้า ริมกอบัว
       วิธีใช้เบื้องต้น  เหวี่ยงเบ็ดโดยทำเหยื่อให้เลยเป้าหมายไปเล็กน้อยปล่อยให้เหยื่อตกลงน้ำกะประมาณระดับกลางจนเกือบถึงผิวหน้าดินในระดับที่ต้องการแล้วโยกคันเบ็ดให้ปลายชี้ขึ้น จากนั้นลดระดับลงกรอสายกลับในความเร็วปานกลางใช้สปูนหมุน เมื่อปลาฉวยเหยื่อครั้งแรกถ้าเป็นปลาช่อนจะสะดุดเหมือนติดตอปรับตั้งระบบเบรคให้พอดีแล้วหมุนสู้ปลาผ่อนปลายคันช่วงที่ปลากระชากเหยื่อปลาช่อนจะทนแรงได้ไม่เกิน 1 นาที ก็จะหมดแรง ให้รีบหมุนเก็บสายและไม่ควรจับปลาด้วยมือเพราะปลาจะสบัดเหยื่อตัวเบ็ดอาจเกี่ยวมือได้ให้ใช้สวิงหรือถ้าไม่มีให้ใช้ผ้า เช่น เสื้อ หรือผ้าเช็ดตัวรองมือก่อนถ้าปลาช่อนตัวใหญ่มากปลาจะลากสายและคุดดินโคลนเราจะรู้สึกเหมือนปลาติดตอคอยกระตุกปลายสายเบาๆจนกว่าปลาจะหมดแรงอึด
       การเลือกใช้เหยื่อ  ควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดปลาที่จะตกลักษณะภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของสถานที่ หากเราสามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมของปลาแต่ละชนิดก็จะทำให้เราเลือกใช้เหยื่อได้ถูกต้องและตกปลาได้อย่างสนุกสนาน
วันนี้ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ก่อนเอาไว้ติดตามกันใหม่ครับ..บาย
By ดีเจท็อฟฟี่

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เหยื่อ


เหยื่อ
เหยื่อตกปลาดังที่กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ต้นว่ามีทั้งเหยื่อจริงและเหยื่อปลอมโดยเหยื่อที่เราเลือกใช้สำหรับตกปลานั้นก็มีความสำคัญ
เหยื่อปลอม
เหยื่อปลอมนั้นใช้สำหรับหลอกล่อปลาล่าเหยื่อให้เข้ามากินโดยใช้การสร้างเลียนแบบธรรมชาติของเหยื่อปลาที่มีอยู่แล้วด้วยการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ให้มีความคล้ายคลึงมากที่สุดครับ
                ประเภทของเหยื่อปลอม
                เหยื่อปลอมโดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ คือ
                      เหยื่อผิวน้ำ เหยื่อชนิดนี้เป็นเหยื่อประเภทที่ใช้วิ่งบนผิวน้ำด้วยการตีเหยื่อเข้าไปยังจุดที่คิดว่ามีตัวปลาอยู่แล้วลากเหยื่อมาตามผิวน้ำ เหยื่อประเภทนี้ใช้ได้ดีกับประช่อน ชะโด และกระสูบ โดยเหยื่อประเภทนี้จะมีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไปตามลักษณะของปลาที่เราตก
ตัวอย่างเหยื่อประเภทผิวน้ำได้แก่


 กบผิวน้ำ
อาจจะมีหรือไม่มีใบพัดด้วยก็ได้แล้วแต่ลักษณะของหมาย

ปอบเปอร์
เหยื่อประเภทที่ใช้การกระตุกเพื่อเรียกความสนใจของปลา
เหยื่อดำตื้น เหยื่อชนิดนี้จะเป็นการเลียนแบบปลาขนาดเล็กซึ่งใช้การสร้างแอคชั่นให้มีความคลายคลึงกับการว่ายของปลาที่บาดเจ็บหรือใกล้ตาย

ตัวอย่างของเหยื่อประเภทดำตื้นได้แก่

ปลั๊กดำตื้น

สปูน

สปินเนอร์
เหยื่อดำลึก เป็นเหยื่อประเภทเดียวกันกับเหยื่อประเภทดำตื้นแต่มีความสามารถในการดำได้ลึกกว่า
เหยื่อจริง
         เหยื่อจริงที่ใช้ตกปลานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นเหยื่อจากธรรมชาติ และเหยื่อที่ผลิตขึ้นโดยนักตกปลา


เหยื่อจากธรรมชาติได้แก่ กบ เขียด ไส้เดือนต่าง ๆ ที่หาได้จากธรรมชาติ

เหยื่อที่นักตกปลาผสมขึ้น อันนี้เป็นเหยื่อที่ไม่มีความตายตัวครับต้องทดลองและค้นหาด้วยตัวเอง แต่ส่วนผสมหลัก ๆ แล้วก็มีรำข้าว เป็นหลัก อาจใส่หัวเชื้อบ้างเป็นต้น
เหยื่ออีกประเภทที่ใช้กันทั่วไป ส่วนใหญ่ใช้กับปลาหนัง ได้แก่เหยื่อหมัก เช่นไส้ไก่หมัก ม้ามหมูหมักเป็นต้นครับ
วันนี้เอามาบอกพอคราวๆก่อนเดี๋ยวจะมาแนะนำเหยื่อปลอมแต่ละชนิดให้รู้จักกัน..รอติดตามกันนะครับ



วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลามีการกินอาหารเพื่อการเจริญเติบโต


ปลามีการกินอาหารเพื่อการเจริญเติบโต ดำรงชีวิต และการสืบพันธุ์ ในการกินและย่อยอาหารจำเป็นต้องอาศัยอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปาก ฟัน ลิ้น ช่องคอ หลอดคอ กระเพาะ ลำไส้ และต่อมต่างๆ เช่น ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน และม้าม


การจำแนกประเภทของปลาตามชนิดของอาหารที่กิน

อาหารของปลามีทั้งพืชและสัตว์ ปลาบางชนิดกินอาหารไม่เลือก บางชนิดก็มุ่งเฉพาะอย่าง จึงแบ่งประเภทของปลาตามชนิดของอาหารที่ชอบกิน คือ

1. ปลากินเนื้อ (carnivorous fish) ชอบกินเนื้อปลาหรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น ปลาช่อน ปลากระสูบ ปลากะพง ปลากะรัง และปลาฉลาม เป็นต้น

2. ปลากินพืช (herbivorsus fish) ชอบกินพืชผัก หญ้า สาหร่ายเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลาไน ปลาจีน เป็นต้น

3. ปลากินทั้งพืชและสัตว์ (omnivorous fish) เป็นปลาที่กินอาหารไม่เลือกไม่ว่าพืชหรือสัตว์ เช่น ปลาแรด ปลาสวาย ปลาเทโพ เป็นต้น

4. ปลากินซากเน่าเปื่อยตามพื้นท้องน้ำ (scarvenger)ชอบกินซากพืชหรือสัตว์ที่ตายกำลังเน่าเปื่อย (detritus) เช่น ปลาไหล เป็นต้น

5. ปลากินแพลงก์ตอน (plankton feeder) เป็นปลาที่กรองแพลงก์ตอนกินเป็นอาหาร เช่น ปลาทู ปลาลัง

6. ปลาที่กินแบบตัวเบียน (parasite fish) เป็นปลาที่กินโดยการดูดเลือดของเหลวจากปลาหรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น ปลาปากกลม

พฤติกรรมการกินอาหาร

ปลามีนิสัยการกินอาหารแตกต่างกันไป แบ่งได้ 5 พวก คือ

1. เป็นผู้กินแบบตัวเบียน (predator) โดยการล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร ปลาพวกนี้จะมีฟันแหลมคมใช้ในการจับยึด เหยื่อให้แน่น มีขากรรไกรเจริญดี กระเพาะอาหารมีน้ำย่อยที่เป็นกรดย่อยอาหารได้ดีและเร็ว มักมีลำไส้สั้น เช่น ปลาฉลาม ปลากะรัง ปลาช่อน เป็นต้น

2. เป็นพวกแทะเล็ม (grazer) เป็นปลาที่กัดกินแบบแทะเล็มหรือตอด เป็นปลาที่หากินบริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นหินและปะการัง โดยการแทะเล็มสาหร่าย ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของปะการัง เช่น ปลานกแก้ว ปลาผีเสื้อ เป็นต้น

3. พวกกินโดยการกรอง (strainer) พวกนี้กินอาหารที่มีขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน ที่เหงือกจะมีซี่กรองเส้นเล็ก ๆ และเรียวยาวจำนวนมากสำหรับกรองแพลงก์ตอนเข้าสู่ช่องคอ มักเป็นปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ ได้แก่ ปลาทู ปลาลัง ปลาหลังเขียว ปลาฉลามวาฬ เป็นต้น

4. พวกกินแบบดูด (sucker) เป็นปลาที่ใช้ปากดูดอาหารตามพื้นท้องน้ำ ปากอยู่ด้านล่างซึ่งมีการพัฒนาเพื่อการดูดเกาะได้ดี เช่น ปลาลูกผึ้ง ปลาทรงเครื่อง

5. กินโดยการเบียดเบียน (parasite) ดูดกินน้ำเลือดจากสัตว์อื่น เช่น ปลาปากกลมในปลาน้ำลึกพวกปลาแองเกลอร์ ตัวผู้จะเป็นปรสิตถาวรของตัวเมีย โดยหลังจากฟักออกจากไข่ได้ไม่นานตัวผู้จะหาตัวเมีย เกาะและไม่สามารถหาอาหารได้เอง ต้องดูดสารอาหารจากตัวเมีย

วิธีหาอาหารของปลา

ปลามีวิธีการหาอาหารโดยใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ดังนี้

1. ใช้สายตา พวกนี้จะมีสายตาดีใช้ในการมองหาเหยื่อ เช่นปลากะรัง ปลาช่อน

2. ใช้การดมกลิ่นและลิ้มรส เป็นพวกที่จมูกมีเซลล์ประสาทรับกลิ่นได้ดี เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา

3. ใช้การสัมผัส เป็นพวกที่สายตาไม่ดี แต่มีอวัยวะที่ใช้ในการสัมผัสอาหารได้ดี เช่น ปลาดุกใช้หนวดสัมผัสอาหาร ปลาปากเป็ด

4. ใช้การล่อเหยื่อ โดยมีอวัยวะชี้ออกมาจากลำตัวใช้ในการล่อ เช่นปลาแองเกลอร์

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาไน



                                                                     ปลาไน


ปลาไน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาคาร์ป (อังกฤษ: carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง

เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ

ปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร หนักกว่า 40 กิโลกรัม และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาคยุโรปตะวันออก ปลาไนมีชื่อเรียกในภาษาแต้จิ๋วว่า หลีฮื้อ (ในภาษาไทยเรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย ปลาไนได้ถูกนำเข้าและถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาต้ จนแพร่ขยายพันธุ์กระทบต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ มีฉายาเรียกว่า "กระต่ายแม่น้ำ" (River Rabbit)

ในประเทศไทยถูกนำเข้าโดยชาวจีนที่เดินทางมาทางเรือ ในปี พ.ศ. 2455 เพื่อเป็นอาหาร และได้ถูกเลี้ยงครั้งแรกในพื้นที่แถบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลานิล-เหยื่อตกปลานิล


ปลานิล-เหยื่อตกปลานิล


ปลานิล Oreochromis nilotica
ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา เดือน - ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

ความเป็นมา
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ มกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยประมาณตัวละ เซนติเมตร นำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 นั้น ในระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ณ บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วยพระองค์เอง จากบ่อเดิมไปปล่อยเลี้ยงในบ่อใหม่ทั้ง บ่อ เมื่อวันที่ กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโต เป็นประจำทุกเดือน โดยที่ปลาชนิดนี้เป็นจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสชาดดีออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลานิล" และได้พระราชทานปลานิลขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลาง บางเขนและที่สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน เมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามพระราชประสงค์ต่อไป


รูปร่างลักษณะ
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลซิคลิดี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยีกา โดยทีปลาชนิดนี้เจริญเติบโตเร็วและเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี จึงได้รับความนิยมและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเชีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้
รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด แถว ตามลำตัวมีลาดพาดขวางจำนวน 9-10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตอกอยู่โดยทั่วไป
ต่อมากรมประมงโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้นำปลานิลสายพันธุ์แท้มีชื่อว่าปลานิลพันธุ์จิตรลดาไปดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ใหม่จำนวน สายพันธุ์ คือ ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1, ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2, ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3
ซึ่งปัจจุบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้กระจายพันธุ์ปลานิลทั้ง สายพันธุ์ไปสู่ภายรัฐและเอกชนทั่วประเทศเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงแล้ว โดยหน่วยงานของสถาบันฯ ในจังหวัดปทุมธานีและหน่วยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจืดพิษณุโลก ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ยังดำเนินการดำรงสายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ปลานิลดังกล่าวด้วย

ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1
เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์แบบคัดเลือกภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันเป็นชั่วอายุที่ ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 22%
ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2
เป็นปลานิลที่พัฒนาพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา โดยการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพ่อพันธุ์ให้มีโครโมโซมเพศเป็น "YY" ที่เรียกว่า "YY-Male" หรือซุปเปอร์เมล ซึ่งเมื่อนำพ่อพันธุ์ดังกล่าวไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปกติจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่เรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2" ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเพศผู้ที่มีโครโมโซมเป็น "XY" ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีขาวนวล เนื้อหนาและแน่นรสชาดดี อายุ 6-8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45%
ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3
เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการนำปลานิลพันธุ์ผสมกลุ่มต่าง ๆ ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาและปลานิลสายพันธุ์อื่น ๆ อีก สายพันธุ์ ได้แก่ อียิปต์ กานา เคนยา สิงคโปร์ เซเนกัล อิสราเอล และไต้หวัด ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและมีอัตรารอดสูง ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงต่าง ๆ ไปสร้างเป็นประชากรพื้นฐาน จากนั้นจึงดำเนินการคัดพันธุ์ในประชากรพื้นฐานต่อโดยวิธีดูลักษณะครอบครัวร่วมกับวิธีดูลักษณะภายในครอบครัว ปลานิลชั่วอายุที่ 1-5 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยงาน ICLARMในประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงนำลูกปลาชั่วอายุที่ เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจึงดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลาดังกล่าวต่อ โดยวิธีการเดิมจนในปัจจุบันได้ ชั่วอายุ และเรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3" ปลาสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีเหลืองนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดีอายุ 6-8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัมให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 40%

คุณสมบัติและนิสัย
ปลานิล มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่า ปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพันส่วน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสพบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

การผสมพันธุ์และวางไข่
ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสมในระยะเวลา ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง ขนาดอายุและช่วงการสืบพันธุ์ของปลาแต่ละตัวจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และสภาพทางสรีรวิทยาของปลาเอง การวิวัฒนาการของรังไข่ และถุงน้ำเชื้อของปลานิล พบว่าปลานิลจะมีไข่และน้ำเชื้อเมื่อมีความยาว 6.5 เซนติเมตร โดยปกติปลานิลที่ยังโตไม่ได้ขนาดผสมพันธุ์ หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเพื่อการวางไข่ จะอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ภายหลังที่ปลามีขนาดที่จะสืบพันธุ์ได้ ปลาตัวผู้จะแยกออกจากฝูง แล้วเริ่มสร้างรัง โดยเลือกเอาบริเวณเชิงลาด หรือก้นบ่อที่มีระดับน้ำลึก ระหว่าง 0.5-1 เมตร วิธีการสร้างรังน้ำ ปลาจะปักหัวลง โดยที่ตัวของมันอยู่ในระดับตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วใช้ปากพร้อมกับการเคลื่อนไหวของลำตัว เพื่อเขี่ยดินตะกอนออก จากน้ำจะอมดินตะกอน งับเศษสิ่งของต่าง ๆ ออกไปทิ้งนอกรัง ทำเช่นนี้จนกว่า จะได้รังที่มีลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-35 เซนติเมตร ลึกประมาณ 3-6 เซนติเมตร ความกว้างและความลึกของรังไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของพ่อปลา หลังจากสร้างรังเสร็จเรียบร้อยแล้ว มันจะพยายามไล่ปลาตัวอื่น ๆ ให้ออกไปนอกรัศมีของรังไข่ ประมาณ 2-3 เมตร ขณะเดียวกัน พ่อปลาที่สร้างรัง จะแผ่ครีบหางและอ้าปากกว้าง ในขณะที่มีปลาตัวเมียว่ายน้ำอยู่ใกล้ ๆ รัง และเมื่อเลือกตัวเมียได้ถูกใจแล้ว ก็จะแสดงอาการจับคู่ โดยว่ายน้ำเคล้าคู่กันไป โดยใช้หางดีดและกันกันเบา ๆ การเคล้าเคลียดังกล่าวใช้เวลาไม่นานนัก ปลาตัวผู้ก็จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ซึ่งตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 10-15 ฟอง ปริมาณไข่รวมกันแต่ละครั้งมีประมาณ 50-600 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา เมื่อปลาวางไข่แต่ละครั้ง ปลาตัวผู้จะว่ายน้ำไปเหนือไข่ พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อลงไป ทำเช่นนี้จนกว่าการผสมพันธ์แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ปลาตัวเมียเก็บไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว อมไว้ในปากและว่ายออกจากรัง ส่วนปลาตัวผู้ ก็จะคอยหาโอกาสเคล้าเคลียกับปลาตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป

การฟักไข่
ไข่ปลาที่อมไว้โดยปลาตัวเมียจะวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ แม่ปลาจะขยับปากให้น้ำไหลเข้าออกในช่องปากอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ไข่ที่อมไว้ได้รับน้ำสะอาด ทั้งยังเป็นการป้องกันศัตรูที่จะมากินไข่ ระยะเวลาฟักไข่ที่ปลาตัวเมียใช้แตกต่างกันตามอุณหภูมิของน้ำ สำหรับน้ำที่มีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ไข่จะวิวัฒนาการเป็นลูกปลาวัยอ่อนภายใน วัน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว ถุงอาหารยังไม่ยุบ และจะยุบเมื่อลูกปลามีอายุครบ 13-14 วัน นับจากวันที่แม่ปลาวางไข่ ในช่วงระยะเวลาที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ ลูกปลานิลวัยอ่อนจะเการวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยว่ายวนเวียนอยู่บริเวณหัวของแม่ปลา และเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อมีภัย หรือถูกรบกวนโดยปลานิลด้วยกันเอง เมื่อถุงอาหารยุบลง ลูกปลานิลจะเริ่มกินอาหารจำพวกพืช และไรน้ำขนาดเล็กได้ และหลังจาก สัปดาห์แล้ว ลูกปลาก็จะกระจายแตกฝูงไปหากินเลี้ยงตัวเองได้โดยลำพัง

การให้อาหารและปุ๋ยในบ่อเพาะพันธุ์
การเลี้ยงปลานิลมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารสมทบ หรืออาหารผสม ได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียด ในอัตราส่วย 1:2:3 โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ2% ของน้ำหนักตัว ทั้งนี้เพื่อให้ปลานิลใช้เป็นพลังงาน ซึ่งต้องใช้มากกว่าในช่วงการผสมพันธุ์ ส่วนปุ๋ยคอกแห้งก็ต้องใส่ในอัตราส่วนประมาณ 100-200 กก.ต่อไร่ต่อเดือน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติในบ่อ ได้แก่ พืชน้ำขนาดเล็ก ๆ ไรน้ำและตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อนภายหลังที่ถุงอาหารยุบลง และจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในบ่อเพาะดังกล่าวประมาณ สัปดาห์ก่อนย้ายไปเลี้ยงในบ่ออนุบาล ถ้าในบ่อขาดอาหารธรรมชาติ ผลผลิตลูกปลานิลจะได้น้อย เพราะขาดอาหารที่จำเป็นเบื้อต้น หลังจากถุงอาหารยุบตัวใหม่ ๆ ก่อนที่ลูกปลานิลจะสามารถกินอาหารสมทบอื่น ๆ ได้ อาหารสมทบที่หาได้ง่ายคือ รำข้าว ซึ่งควรปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยใช้ปลาป่น กากถั่ว และวิตามินเป็นส่วนผสม นอกจากนี้แหนเป็ดและสาหร่ายบางชนิดก็สามารถใช้เป็นอาหารเสริมแก่พ่อแม่พันธุ์ปลานิลกได้เป็นอย่างดี ในกรณีทีใช้กระชังไนล่อนตาถี่เพาะพันธุ์ปลานิลก็ควรให้อาหารสมทบแก่พ่อแม่ปลาอย่างเดียว

ที่บรรยายมามากมาย ผมไม่ได้เลี้ยงปลานะครับ แต่ผมชอบตกปลา โดยเฉพาะปลานิล
เหยื่อปลานิล
สูตร ๑
ไส้เดือนเป็นๆ ใช้เกี่ยวเบ็ดตัวเดี่ยว หรือใช้ตะกร้อหุ้มรำแล้วเกี่ยวไส้เดือนที่เบ็ดตัวสุดท้ายก็ได้
สูตร ๒
กุ้งฝอยเป็นๆ ใช้ตระกร้อหุ้มรำแล้วเกี่ยวกุ้งฝอยที่ตะกร้อ ๒ ตัวและที่เบ็ดตัวสุดท้ายอีก ๑ ตัว

สูตร ๓
ส่วนผสม  ขนมปังป่น รำคั่ว น้ำที่บ่อ ต้อหอม ผักชี
วิธีทำ นำขนมปังมาตากแห้งแล้วนำมาปั่นให้ละเอียดผสมกับรำคั่ว ผสมกับน้ำที่บ่อ ผสมต้นหอมและผักชีซอย นวดให้เข้ากัน
ชนิดของปลา ปลานิล ปลายี่สก อื่น”ๆ

สูตร ๔ มะพร้าวสามแดด
ส่วนผสม มะพร้าวขูด ก.ก รำอ่อนหอม ก.ก ขนมปังฝุ่น ก.ก กากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง
วิธีทำ นำเอามะพร้าวขนมปังฝุ่นรำนั้นร่อนเสียก่อน ทั้งสามนี้เอามารวมกัน แล้วจัดการคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดีเติมด้วยกากถั่วเหลืองและนมถั่งเหลืองกะคะเนดูว่าให้พอดีอย่าให้แฉะหรือแข็งจนเกินไปแล้วเอามาใส่ถุงพลาสติกเก็บเอาไว้สามวันจึงค่อยนำเอามาใช้
วิธีใช้ เมื่อจะเอาไปใช้นั้นตรวจสอบดูเสียก่อนว่าเหยื่ออยู่ในสภาพอย่างไรใช้ตกแบบตะกร้อเบ็ดพวงดีที่สุด ใช้เป็นเหยื่ออ่อยได้อีกด้วย
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิด
 สูตร ๕  มาม่าซัง
ส่วนผสม รำอ่อน ก.ก ข้าวสุก ก.ก ขนมปังฝุ่น ก.ก มาม่า ซอง
วิธีทำ นำรำมาร่อนเอากากออก แล้วเอาใส่กะละมังตามด้วยขนมปังฝุ่นเคล้าให้เข้ากันดี เมื่อได้ที่แล้วพักเอาไว้ จากนั้นเอามาม่ามาทำการลวกน้ำร้อนเอาน้ำน้อย ๆ พอสุก แล้วเอามาเทรวมกันเคล้าให้เข้ากันใส่ข้าวสุกลงไปด้วย ระวังอย่าให้ข้าวสุกเป็นก้อนค่อย ๆ เคล้าให้ทั่ว แล้วนำเอาไปตกปลาได้
วิธีใช้ เหยื่อนี้ตกด้วยตระก้อหุ้มรำ เหน็บด้วยขนมปัง หรือจะเกี่ยวด้วยเม็ดโฟมก็ได้
ชนิดของปลา ปลาเกล็ด ปลาตะเพียน กระมัง นิล ยี่สก
สูตร ๖ รำหมักเหล้า
ส่วนผสม รำอ่อน ก.ก ขนมปังฝุ่น ก.ก เหล้าขาวครึ่งขวด
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนให้กากหมด แล้วใส่กะละมังเทขนมปังฝุ่นลงไปแล้วจัดการคลุกเคล้า พร้อมกันนั้นให้เทเหล้าขาวลงไปกลิ่นจะหอมไปทั่วระหว่างรำกับเหล้า เคล้าให้ดีเป็นอันว่าเสร็จพิธี เก็บใส่ถุงไว้
วิธีใช้ สูตรนี้ใช้ได้ทั้งเป็นเหยื่ออ่อยแล้วเหยื่อตก เวลาจะตกปลาที่ไหนก็ทำการโปรยเหยื่อเพื่ออ่อยไปก่อนจะทำให้การตกปลาดีขึ้น
ชนิดของปลา ปลาเกร็ด นิล ยี่สก จีน ตะเพียน กระมัง นวลจันทร์ ฯลฯ
สูตร ๗ ผีบอก
ส่วนผสม รำ ก.ก แป้งข้าวจ้าวครึ่งกิโล ขนมปังฝุ่น ก.ก น้ำมะพร้าวพอประมาณ
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนเอากากออกให้หมด เสร็จแล้วนำเอามาเทลงในกะละมัง ขนมปังฝุ่นนั้นเทตามลงไป เคล้าให้เข้ากัน เติมด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้น้ำมะพร้าวเป็นส่วนที่จะทำให้นิ่มเคล้าให้เข้ากันดีอย่าให้เละมาก แล้วนำเอาหมักใส่ถุงพลาสติกปิดปากให้แน่นสักสามวันก็ใช้ได้
วิธีใช้ ใช้ตกแบบตะกร้อหุ้มรำตามสูตรมดเอกซ์
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิด รวมทั้งปลาหนังก็ใช้ได้
สูตร ๘ แพ้ท้อง
ส่วนผสม รำอ่อน ก.ก มะพร้าวขูดครึ่ง ก.ก นมเปรี้ยว ขวด
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนเอากากออกให้หมด เสร็จแล้วเอามะพร้าวขูดมาเทใส่ลงไป แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับรำที่เตรียมเอาไว้ เมื่อส่วนผสมทั้งสองเข้ากันดีแล้ว เทนมเปรี้ยวลงไป แล้วเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งหนึ่ง แล้วหมักเอาไว้สัก วัน กลิ่นจะออกเปรี้ยวแต่หอม
วิธีใช้ เมื่อจะนำเอาไปใช้นั้น ทำการเช็คดูเสียก่อนว่าเหยื่ออยู่ในสภาพที่พร้อมจะตกหรือเปล่า ถ้าเหลวก็ทำการเติมลงไป ใช้ตกแบบตระกร้อหุ้มรำดีที่สุด
ชนิดของปลา ปลาเกร็ด ปลาหนังก็กิน แต่ที่ดีที่สุดจะเป็นพวกยี่สก จีน
สูตร ๙ รวมมิตร
ส่วนผสม รำ ก.ก ข้าวโพด ก.ก ข้าวเหนียวมูลครึ่ง ก.ก มะพร้าวขูด 3ขีด ขนมปังฝุ่น 1ก.ก ใบผักชี ขีด นมสด กล่อง
วิธีทำ นำเอาข้าวโพดมาฝานบาง ๆ แล้วใส่กะละมังเอาไว้ ข้าวเหนี่ยวมูลนั้นใส่กะทิให้เหลวสักหน่อยจะได้ไม่เป็นก้อน แล้วเอามะพร้าวขูดมาคลุกเคล้าเข้าไปกับข้าวเหนียวแล้วเอามาเทรวมกันกับข้าวโพดตามด้วยส่วนผสมอื่น ๆ ชักชีนั้นหั่นเป็นฝอย ๆ คลุกเคล้าเบา ๆ ให้ทั่วก็นำไปใช้ได้
วิธีใช้ ใช้ตระกร้อหุ้มดีที่หนึ่งเลย
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิด
สูตร ๑๐ รำทรงเครื่อง
ส่วนผสม รำข้าวหอม ก.ก ข้าวสารขั้ว ขีด มะพร้าวขูด ถ้วย น้ำมะพร้าว นมเปรี้ยว 1กล่อง
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนกากออก จากนั้นนำข้าวคั่วมาเทลงไปแล้วทำการคลุกเคล้าให้เข้ากันดี เอามะพร้าวมาใส่ตามลงไปตามลำดับพร้อมด้วยนมเปรี้ยวกะให้เหยื่อพอดี แล้วใส่ถุงพลาสติกเอาไว้ วัน นำเอาไปตกปลาได้
วิธีใช้ ใช้ตกปลาได้ทุกที่ การตกนั้นตกด้วยตระกร้อหน้าดินดีที่สุด
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิดกินทั้งนั้น

วิธีดูหลุมปลานิล... 

หลุมปลาส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับขอบตลิ่ง ตั้งสายหน้าแค่คืบเดียว....ตั้งทุ่นไม่ต้องสูงมาก...เพราะว่าขอบตลิ่งน้ำจะตื้น...แล้วก้อค่อยๆ ลาก...กระดึ๊บ...กระคึ๊บ...ไปตามขอบตลิ่ง... 
ให้สังเกตจากทุ่น...ตอนลากไปทุ่นก้อจะโผล่เท่ากันเรื่อย...แต่ถ้าเจอหลุมปลา...ทุ่นก้อจะหายลงไปเลย....ให้ลากต่อไปอีกนิด (จะได้ทราบความกว้างของหลุม)...แล้วถ้าทุ่นโผล่สูงขึ้น...ก้อแสดงว่าเป็นหลุมปลาชัวร์... 

วิธีดูปลาหลุมนิล...


ปลาหลุมส่วนใหญ่จะเป็นปลาตัวผู้...ซึ่งจะทำรังไว้เป็นอาณาจักรของตัวเอง...ปลามันจะทำความสะอาดหลุมตลอดเวลา...ถ้ามีอะไรตกลงมาที่หลุม...มันก้อจะเอาหางปัดออก...หรือถ้ายังไม่ออก...มันก้อจะใช้ปากคาบออก...พอพ้นหลุมก้อจะปล่อยทันที...ดังนั้น...ถ้าเราเจอหลุมปลาแล้ว...ให้สังเกตทุ่นสักพัก...ถ้าทุ่นขยับไปมาเล็กน้อย...ก้อแสดงว่า...หลุมนั้นมีตัวแน่นอน...ใช้กุ้งฝอย หรือ เม็ดโฟม...เกี่ยวตัวเบ็ด...เพื่อไม่ให้ไปเกี่ยวสวะใต้น้ำก้อพอ...ถ้าปลาคาบกุ้งฝอย...หรือเม็ดโฟม...ออกจากหลุม...ให้สังเกตจากทุ่น...ทุ่นจะลอยสูงขึ้น...หรือมีการขยับเดินหน้า....ให้วัดเบ็ดทันที...ถ้าช้าไป...ปลาก้อจะปล่อยเบ็ดทันทีที่พ้นหลุม...เป็นการฝึกสายตา...และก้อฝึกสมาธิไปในตัวด้วย...เพราะถ้าเราเร็วกว่า...ปลากเสร็จ...แต่ถ้าเราช้ากว่า...ปลาก้อปล่อย...อดรับประทาน...